วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์

              การใช้อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อเรามากมายในหลายๆด้าน อยู่ที่ว่าเราควรเลือกใช้ยังไงให้ถูกวิธีและสร้างสรรค์ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เรามาดูกันดีกว่าว่าอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ในด้านใดบ้าง ?

   1.อินเทอร์เน็ตช่วยในการหาความรู้ ศึกษาในเรื่องที่อยากทราบ ศึกษาในเรื่องที่มีประโยชน์
   2.ช่วยให้เราติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น
   3.ช่วยในการหาความรู้ใหม่ๆ ความรู้ที่สร้างสรรค์ ช่วยให้เกิดแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน กิจกรรมต่างๆ
   4.ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน อาจารย์ ได้ใกล้ชิดมากขึ้น
   5.ช่วยให้เรามีความสนุกเพลิดเพลินกับการดูสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพ วีดีโอ
   6.ช่วยในเรื่องของการทำงาน การหาข้อมูล ติดต่อกับบริษัทต่างๆ ผู้คนต่างๆมากมาย
   7.ช่วยให้เราได้พบปะสังสรรค์กับผู้คนใหม่ๆ มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้น



นอกจากนี้เราควรรู้หลักการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตนเองสังคมและผู้อื่นด้วย

   1.ควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพและชัดเจนในการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต
   2.ใช้ภาษาที่ถูกต้องเพราะอาจส่งผลให้สื่อสารผิดพลาดได้
   3.ไม่ควรละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
   4.ควรคิดก่อนทำ คิดก่อนที่จะพิมพ์อะไรลงไปในอินเทอร์เน็ต เพราะอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ในบางอย่างอาจส่งผลเสียต่อตนเองและส่วนรวมด้วย
   5.ควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และไตร่ตรองก่อนทุกครั้ง เพราะอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนศูนย์รวมผู้คนมากมาย ควรรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
   6.ไม่ควรใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
   7.ไม่ควรไว้ใจบุคคล หรือสินค้าใดๆที่ซื้อขายกันตามอินเทอร์เน็ต เพราะอาจส่งผลเสียต่อตัวเราได้ และจะไม่มีใครรับผิดชอบ
   8.ควรแบ่งเวลาให้เป็น ไม่ควรเล่นอินเทอร์เน็ตมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียในหลายๆด้านตามมาได้
   9.ควรรู้จักการแยกแยะสิ่งผิดสิ่งถูกในอินเทอร์เน็ต และใช้ให้เกิดประโยชน์




       หวังว่าทุกคนคงได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตกันไปบ้างแล้ว เพราะฉะนั้นก็อยากให้ทุกคนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธี สร้างสรรค์ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและสังคมด้วยนะคะ ♥

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)


             หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น









องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 


           โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog)

           ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ

          สวิตช์(switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ จะรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง

         อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ที่มช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน

         สายสัญญาณ(cable) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล มีหลายแบบเช่นสายโคแอกซ์ สาย UTP สาย STP สายใยแก้วนำแสง

         การ์ดแลน(LAN card) ส่งข้อมูลโดยผ่านสายแลน

 


การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระดับเล็ก


          1. การเชื่่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้  หากมีคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 2 เครื่อง ต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เชื่อมต่อโดยใช้สายไขว้ (Cross Line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องได้โดยตรง แต่ถ้ามีมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย ในกรณีที่เครือข่ายมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก ควรเลือใช้เราเตอร์เพื่อช่ยลดปัญหาความหนาแน่นของข้อมูล
        

          2.การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล  (เมื่อการเดินเดินสายมีความยาวมากกว่า 100 เมตร) เช่น
                   1) ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (Repeater) ไว้ทุก 100 เมตร  เพราะเนื่องจากไม่สามารถติดตั้งฮับหรือสวิตซ์โดยผ่านสายคู่เกลียวคู่ได้

                  2) แบบที่สอง ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อและเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ หากต้องการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างเครือข่าย ควรเลือใช้การเช่าสัญญาณของบริษัท วึ่งจะได้ความเร็วที่มากกว่า

                 3) แบบที่สาม เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย

                4) ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศพท์เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด โดยปกติจะทำงานบนมาตรฐาน 802.11 b

                5)แบบที่ห้า เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital subscriber line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation)

               6) เทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถตะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ โดยสามารถเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ทั่วไป





 การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก


             
               สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น

                  ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส  (linux community enterprise operating system)  นิยมเรียกย่อว่า CentOS เป็นซอฟต์แวร์เปิดเผยโค้ด(open source software)

                 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server)ปัจจุบันถูกพัฒนามาเป็น Windows server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่น และบริการอื่นๆที่มีความสมัยบนเว็บไซต์ นอกจากนั้นยังมีระบบโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูง โดยมีคุณสมบัติเด่นดังนี้

               1) สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
               2) เวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization)
               3) มีระบบจัดการดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา
               4) ระบบควาปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสมผสานการ                  
               ใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น






credit ::  หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม. 5
               http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html