วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

แคนนอน เปิดตัวกล้องคอมแพ็คใหม่ 4 รุ่นชู Wi-Fi ในตัวกล้อง



แคนนอน ผู้นำเทคโนโลยีกล้องดิจิตอลระดับโลก เปิดตัวกล้องดิจิตอลคอมแพ็คระดับพรีเมี่ยมมี WiFi ในตัวกล้อง พร้อมกัน 4 รุ่นใหม่
คือ Canon PowerShot N, Canon IXUS 255HS, Canon IXUS 140 และ Canon IXUS 135 เหมาะสำหรับหนุ่มสาวมีสไตล์ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ และแชร์ภาพสวยคมชัดผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ด้วยดีไซน์เล็ก ปราดเปรียว มีฟังก์ชั่นถ่ายภาพโหมดออโต้ที่หลากหลาย ให้ผู้ใช้สามารถถ่ายภาพสไตล์ครีเอทีฟ หรือถ่ายภาพสวยแบบมืออาชีพได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องปรับตั้งค่ากล้องให้ยุ่งยาก ในขณะที่เทคโนโลยี Wi-Fi ในตัวกล้อง จะทำให้ผู้ใช้สามารถแชร์ภาพสวยจากกล้องดิจิตอล ไปยังสมาร์ทโฟน    แท็ปเลต คอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่กล้องดิจิตอลรุ่นอื่นๆ แบบไร้สายได้ทันที เพิ่มความสะดวก ในการอัพโหลดภาพขึ้นโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ หรือส่งอีเมลได้ตามต้องการ

Canon PowerShot N คอมแพ็คสายพันธุ์ใหม่ตอบโจทย์วัยมันส์ มีมุมมองใหม่ ไอเดียบรรเจิด ด้วยโหมดออโต้สำหรับการถ่ายภาพสไตล์ครีเอทีฟ
·    ดีไซน์ล้ำสมัย – Powershot N รูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสแปลกตา ขนาดกระทัดรัด พร้อมหน้าจอ LCD ระบบสัมผัสขนาด 2.8 นิ้ว ที่ปรับองศาได้ถึง 90 องศา มีวงแหวนควบคุมการซูม และการสั่งชัตเตอร์ ซึ่งไม่ว่าจะถือกล้ององศาไหนก็สามารถใช้มือเดียวสั่งซูมและชัตเตอร์ได้อย่างสะดวก

·    ถ่ายรูปสุดแนว ได้ง่ายๆ ด้วยโหมดถ่ายภาพออโต้ ‘Creative Shot’ - เอาใจคนชอบถ่ายภาพมุมเท่ๆ ไม่ซ้ำใคร ด้วยโหมดถ่ายภาพออโต้ ‘Creative Shot’ ใหม่ แค่กดชัตเตอร์ 1 ครั้ง กล้องจะบันทึกภาพออริจินัล 1 ภาพ พร้อมใส่เอฟเฟคพิเศษให้ภาพนั้นๆ เพิ่มอีก 5 แบบ ทั้ง Fish-eye, Miniature, Toy Camera, Soft Focus และ Monochrome โดยอัตโนมัติ ให้คุณมีภาพมุมมองเก๋แปลกตาได้มากถึง 6 สไตล์ในช๊อตเดียว

 ·    เล็กแต่อัดแน่นด้วยฟังก์ชั่นแบบกล้องรุ่นใหญ่ - แม้จะตัวเล็กแต่ PowerShot N อัดแน่นด้วยคุณสมบัติระดับกล้องดิจิตอลรุ่นใหญ่ เช่น ชิปประมวลผลภาพอัจฉริยะ DIGIC 5 และเซ็นเซอร์ CMOS ความไวแสงสูงความละเอียด 12.1 ล้านพิกเซล เลนส์มุมกว้าง 28 - 224มม.ซูมแบบออปติคัล 8 เท่า และซูมพลัสได้ถึง 16 เท่า ค่าความไวแสงได้สูงสุดถึง ISO 6400 บันทึกวีดีโอคมชัดระดับแบบ FULL HD  พร้อมระบบออโต้อัจฉริยะใหม่ Hybrid Auto mode เมื่อกดชัตเตอร์ 1 ครั้ง กล้องจะบันทึกทั้งภาพนิ่ง และภาพวีดีโอความละเอียดระดับ Full HD ความยาว 4 วินาทีก่อนการกดชัตเตอร์ เก็บไว้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเก็บบันทึกภาพและเสียงบรรยากาศจริงของช่วงเวลาดีๆ ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศเสียงเชียร์หรือเสียงเพลงในงานแต่งงานหรือปาร์ตี้วันเกิด

 Canon IXUS series กล้องดิจิตอลดีไซน์สวยปราดเปรียวทันสมัย ไอค่อนใหม่สำหรับวัยรุ่นคนทำงานแฟชั่นนิสต้าตัวจริง ใช้งานง่าย ให้ภาพคมชัดเป็นเลิศ ซึ่งรุ่นใหม่ที่มี Wi-Fi มีให้เลือก 3 รุ่น

·    IXUS255 HS เซ็นเซอร์ระดับ CMOS ความไวแสงสูง(High Sensitivity)ความละเอียด 12.1 ล้านพิกเซล ชิปประมวลผลภาพ DIGIC 5 ภาพถ่ายจึงคมชัดแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงสลัว เช่น ร้านอาหาร ไนต์คลับ และสามารถปรับเพิ่มค่าความไวแสงได้สูงสุดถึง ISO 6400 เลนส์มุมกว้าง 24 – 240 มม.ซูมแบบออปติคัล 10 เท่า ปรับเร่งพลังขยายได้สูงสุดถึง 20 เท่าเมื่อเปิดใช้งานระบบซูมพลัส ระบบออโต้อัจฉริยะ Smart Auto ที่ช่วยตั้งค่าของกล้องให้เหมาะสมกับสภาพแสงต่างๆ มากถึง 58 แบบได้อัตโนมัติ มีปุ่ม Movie Button บนตัวกล้องเพื่อบันทึกวิดีโอคมชัดระดับ Full HD ได้ทันที มีให้เลือก 3 สีในโทน      เมทัลลิคสุดหรู ได้แก่ สีดำ สีเงิน และสีชมพู



·    IXUS 140 – กล้องดิจิตอลพลังซูม 8 เท่า เพรียวบางที่สุดในโลก จากการสำรวจกล้องดิจิตอลคอมแพ็คที่มีเลนส์ซูม 8 เท่า จัดทำโดยแคนนอน (ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555) ภายในประกอบด้วยเซ็นเซอร์ CCD ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ชิปประมวลผลภาพ DIGIC 4 ปรับค่าความไวแสงได้สูงสุดที่ ISO 1600 เลนส์มุมกว้าง 28 – 224 มม. ซูมแบบออปติคัล 8 เท่า ปรับเร่งพลังขยายได้สูงสุดถึง 16 เท่าเมื่อเปิดใช้งานระบบซูมพลัส มีโหมดออโต้อัจฉริยะ Smart Auto ที่ช่วยตั้งค่าของกล้องให้เหมาะสมกับสภาพแสงต่างๆ 32 แบบได้อัตโนมัติ บันทึกวิดีโอความละเอียดระดับ HD มีให้เลือก 3 สีในโทนสีจัดจ้าน ได้แก่ สีแดง สีเงิน และสีชมพูเมทัลลิค



·    IXUS 135 – กล้องมีสไตล์ ราคาสบายกระเป๋า เซ็นเซอร์ CCD ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล ชิปประมวลผล DIGIC 4 ปรับค่าความไวแสงได้สูงสุดที่ ISO 1600 เลนส์มุมกว้าง 28 – 224 มม. ซูมแบบออปติคัล 8 เท่า ปรับเร่งพลังขยายได้สูงสุดถึง 16 เท่าเมื่อเปิดใช้งานระบบซูมพลัส มีโหมดออโต้อัจฉริยะ Smart Auto ที่ช่วยตั้งค่าของกล้องให้เหมาะสมกับสภาพแสงต่างๆ 32 แบบได้อัตโนมัติ บันทึกวิดีโอความละเอียดระดับ HD มีจำหน่ายเฉพาะสีดำ



กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ทั้ง 4 รุ่น มีเทคโนโลยี Wi-Fi ในตัวกล้อง รองรับการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนทั้งระบบปฏิบัติการทั้ง iOS และ Android ช่วยให้สาวกตัวจริงของเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์คสนุกกับกับอัพโหลดแชร์ภาพสวยหรือไฟล์วิดีโอคมชัดแบบ HD บนเว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์คชื่อดังอย่างเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ยูทูป           อวดเพื่อนๆ แบบทันใจ ผ่านแอพพลิเคชั่น ‘CameraWindow’ นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ภไฟล์ภาพจากกล้องไปยังแท็ปเลต คอมพิวเตอร์ เครื่องปริ้นเตอร์ หรือแม้แต่กล้องดิจิตอลWi-Fi แคนนอนอื่นๆ ได้แบบไร้สายอีกด้วยพร้อมเทคโนโลยีประหยัดพลังงานใหม่จากแคนนอน Eco Mode เพื่อลดการใช้พลังงานแบตเตอรี่ สามารถถ่ายภาพได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับโหมดปกติถึง 30% และยังเปิดใช้งาน Wi-Fi ได้นานกว่าเดิม





ราคาจำหน่ายของกล้องดิจิตอลคอมแพ็คใหม่จากแคนนอน พร้อมฟังก์ชั่น Wi-Fi ในตัว จำหน่ายในราคาดังนี้

·        PowerShot N                 10,490              บาท

·        IXUS 255 HS                 8,920                บาท

·        IXUS 140                      6,820                บาท

·        IXUS 135                      6,290                บาท



ข้อมูลทางเทคนิค
PowerShot N

·        รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi

·        ขนาด  78.6 x 60.2 x 29.3 มม. น้ำหนักเบาเพียง 195 กรัม (รวมแบตเตอรี่และเมมโมรีการ์ด)

·        เลนส์ออปติคอลซูม 8 เท่า (28-224 มม.) ระบบซูมพลัส ขยายได้ 16 เท่า

·        หน้าจอ LCD ทัชสกรีนแบบ Capacitive ขนาด 2.8 นิ้ว

·        เซ็นเซอร์ CMOS ความไวแสงสูง 12.1 ล้านพิกเซล

·        ชิปประมวลผล DIGIC 5

·        ISO สูงสุด 6400

·        คุณภาพวิดีโอสูงสุดระดับ Full HD



IXUS255 HS

·        รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi

·        เลนส์ออปติคอลซูม 10 เท่า (24-240 มม.) ระบบซูมพลัส ขยายได้ 20 เท่า

·        เซ็นเซอร์ CMOS ความไวแสงสูง12.1 ล้านพิกเซล

·        ชิปประมวลผล DIGIC 5

·        ISO สูงสุด 6400

·        คุณภาพวิดีโอสูงสุดระดับ Full HD

·        หน้าจอ LCD ขนาด 3 นิ้ว



IXUS 140 และ IXUS 135

·        รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi

·        เลนส์ออปติคอลซูม 8 เท่า (28-224 มม.) ระบบซูมพลัส ขยายได้ 16 เท่า

·        ชิปประมวลผล DIGIC 4 เซ็นเซอร์ CCD ความละเอียด 16 ล้านพิกเซล

·        ISO สูงสุด 1600



·        คุณภาพวิดีโอสูงสุดระดับ HD

·        หน้าจอ LCD ขนาด 3 นิ้ว และ  2.7 นิ้ว(สำหรับ IXUS 135)

·        ขนาดเพรียวบางเพียง  95.4 x 56.0 x 20.6 มม.น้ำหนักประมาณ 133 กรัม (4.69 ออนซ์) (สำหรับ IXUS 140)







วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์

              การใช้อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ต่อเรามากมายในหลายๆด้าน อยู่ที่ว่าเราควรเลือกใช้ยังไงให้ถูกวิธีและสร้างสรรค์ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เรามาดูกันดีกว่าว่าอินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ในด้านใดบ้าง ?

   1.อินเทอร์เน็ตช่วยในการหาความรู้ ศึกษาในเรื่องที่อยากทราบ ศึกษาในเรื่องที่มีประโยชน์
   2.ช่วยให้เราติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น
   3.ช่วยในการหาความรู้ใหม่ๆ ความรู้ที่สร้างสรรค์ ช่วยให้เกิดแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน กิจกรรมต่างๆ
   4.ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน อาจารย์ ได้ใกล้ชิดมากขึ้น
   5.ช่วยให้เรามีความสนุกเพลิดเพลินกับการดูสื่อต่างๆ เช่น รูปภาพ วีดีโอ
   6.ช่วยในเรื่องของการทำงาน การหาข้อมูล ติดต่อกับบริษัทต่างๆ ผู้คนต่างๆมากมาย
   7.ช่วยให้เราได้พบปะสังสรรค์กับผู้คนใหม่ๆ มีเพื่อนเพิ่มมากขึ้น



นอกจากนี้เราควรรู้หลักการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตนเองสังคมและผู้อื่นด้วย

   1.ควรใช้ถ้อยคำที่สุภาพและชัดเจนในการติดต่อสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต
   2.ใช้ภาษาที่ถูกต้องเพราะอาจส่งผลให้สื่อสารผิดพลาดได้
   3.ไม่ควรละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
   4.ควรคิดก่อนทำ คิดก่อนที่จะพิมพ์อะไรลงไปในอินเทอร์เน็ต เพราะอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ในบางอย่างอาจส่งผลเสียต่อตนเองและส่วนรวมด้วย
   5.ควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และไตร่ตรองก่อนทุกครั้ง เพราะอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนศูนย์รวมผู้คนมากมาย ควรรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
   6.ไม่ควรใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อหลอกลวงผู้อื่น
   7.ไม่ควรไว้ใจบุคคล หรือสินค้าใดๆที่ซื้อขายกันตามอินเทอร์เน็ต เพราะอาจส่งผลเสียต่อตัวเราได้ และจะไม่มีใครรับผิดชอบ
   8.ควรแบ่งเวลาให้เป็น ไม่ควรเล่นอินเทอร์เน็ตมากจนเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียในหลายๆด้านตามมาได้
   9.ควรรู้จักการแยกแยะสิ่งผิดสิ่งถูกในอินเทอร์เน็ต และใช้ให้เกิดประโยชน์




       หวังว่าทุกคนคงได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตกันไปบ้างแล้ว เพราะฉะนั้นก็อยากให้ทุกคนใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธี สร้างสรรค์ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและสังคมด้วยนะคะ ♥

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)


             หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น









องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 


           โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog)

           ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ

          สวิตช์(switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ จะรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง

         อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ที่มช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน

         สายสัญญาณ(cable) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล มีหลายแบบเช่นสายโคแอกซ์ สาย UTP สาย STP สายใยแก้วนำแสง

         การ์ดแลน(LAN card) ส่งข้อมูลโดยผ่านสายแลน

 


การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายระดับเล็ก


          1. การเชื่่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้  หากมีคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 2 เครื่อง ต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เชื่อมต่อโดยใช้สายไขว้ (Cross Line) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เครื่องได้โดยตรง แต่ถ้ามีมากกว่าสองเครื่อง ควรใช้สวิตช์หรือฮับด้วย ในกรณีที่เครือข่ายมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก ควรเลือใช้เราเตอร์เพื่อช่ยลดปัญหาความหนาแน่นของข้อมูล
        

          2.การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล  (เมื่อการเดินเดินสายมีความยาวมากกว่า 100 เมตร) เช่น
                   1) ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (Repeater) ไว้ทุก 100 เมตร  เพราะเนื่องจากไม่สามารถติดตั้งฮับหรือสวิตซ์โดยผ่านสายคู่เกลียวคู่ได้

                  2) แบบที่สอง ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อและเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ หากต้องการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างเครือข่าย ควรเลือใช้การเช่าสัญญาณของบริษัท วึ่งจะได้ความเร็วที่มากกว่า

                 3) แบบที่สาม เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมไปถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วย

                4) ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศพท์เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำหรับติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด โดยปกติจะทำงานบนมาตรฐาน 802.11 b

                5)แบบที่ห้า เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL (Digital subscriber line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation)

               6) เทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถตะติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำ โดยสามารถเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ทั่วไป





 การเลือกใช้ซอฟแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก


             
               สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น

                  ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส  (linux community enterprise operating system)  นิยมเรียกย่อว่า CentOS เป็นซอฟต์แวร์เปิดเผยโค้ด(open source software)

                 ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (windows server)ปัจจุบันถูกพัฒนามาเป็น Windows server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่น และบริการอื่นๆที่มีความสมัยบนเว็บไซต์ นอกจากนั้นยังมีระบบโครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูง โดยมีคุณสมบัติเด่นดังนี้

               1) สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
               2) เวอร์ชวลไลเซชั่น (Virtualization)
               3) มีระบบจัดการดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา
               4) ระบบควาปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสมผสานการ                  
               ใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น






credit ::  หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม. 5
               http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html
    

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ


1.ระบบสารสนเทศ (INFORMATION SYSTEM)

                หมายถึง ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการของผู้ใช้
และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ



1.1 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศที่สำคัญมี 5 องค์ประกอบ ดังนี้







1) ฮาร์ดแวร์ (hardware)

             ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 3 หน่วย คือ
     ✚ หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
     ✚ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
     ✚ หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์


2) ซอฟต์แวร์ (software)

          ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
           1.ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น รับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ ประมวลผลข้อมูล แสดงผลทางจอภาพ เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ โปรแกรมแปลภาษาและโปรแกรมอรรถประโยชน์
          2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์แวร์ตารางงาน ซอฟต์แวร์ด้านกราฟิก เป็นต้น


3) ข้อมูล (data)

        ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ



4) บุคลากร (people)

        บุคลากร คือผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศตั้งแต่การพัฒนาระบบจนกระทั่งการใช้งานและการบำรุงรักษา ซึ่งบุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ต้องมีความรู้ความสามรถในการใช้ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพ



5) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure)

        ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน




1.2 ชนิดของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศแบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ

1) ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing systems :TPS)

       การดำเนินงานขององค์กรหนึ่ง ๆ นั้น จะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ในการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรมนั้น พบว่าต้องใช้ TPS เป็นพื้นฐานเสมอ ซึ่ง TPS เหล่านี้ได้มาจากข้อมูลที่ถูกส่งจากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึ่ง การประมวลผลแบบนี้ อาจจะถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักขององค์กรในแต่ละวัน โดยเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์อย่างมีระบบตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมกับข้อคิดบางอย่างเป็นข่าวสารที่นำไปใช้ได้ทันที สามารถเขียนเป็นวัฏจักรของการประมวลผลได้ดังนี้
วิธีการประมวลผลมี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ ทำด้วยมือ (manual data processing)และการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data processing) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ batch หรือแบบ on-line ก็ได้
ตัวอย่าง เช่น ระบบสารสนเทศของห้างสรรพสินค้า ที่รับชำระค่าสินค้า ออกใบเสร็จ ตัดสต็อกสินค้าอัตโนมัติ ออกรายงานการขายประจำวันต่อ พนักงานขายได้

2) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems : OAS)

     เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนงานธุรการในองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นั่นหมายถึงการประสานงานในด้านต่าง ๆ ของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งอาจจะต้องให้เทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายเข้ามาช่วย และในปัจจุบันมี Sofeware หลายตัวที่ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีแล้วสามารถช่วยให้การทำงานด้านี้รวดเร็วขึ้น เช่น การใช้งานโปรแกรม ไมโครซอฟต์ออปฟิดต์ เพื่อการจัดทำเอกสาร การใช้งาน e-mail voice-mail หรือระบบสำนักงานอัตโนมัติ ผ่านเว็บ ระบบ E-office

3) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information systems: MIS)

       MIS นี้เปรียบเสมือนเป็นผู้ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ (decision making) และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งสารสนเทศที่นำมาใช้ใน MIS นี้ได้มาจาก TPS แต่อาจจะมีการใช้สารสนเทศหรือความรู้จากที่อื่นประกอบด้วย เช่น แนวโน้มทางด้านเศรษฐศาสตร์ ปริมาณและความต้องการในการกู้ยืมเงินของประชาชน เป็นต้น
        การตัดสินใจบางอย่างในองค์กรธุรกิจ อาจจะอยู่ในรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำแบบปกติ (recur regularly) เช่น ต้องการข้อมูลแบบนี้ทุก ๆ อาทิตย์ ทุก ๆ เดือน หรือทุก ๆ ไตรมาส เป็นต้น ซึ่งกลุ่มของสารสนเทศที่ต้องากรนั้นมักจะเป็นกลุ่มที่แน่นอนตายตัว สามารถเขียนโครงสร้างของการตัดสินใจหรือรูปแบบรายงานไว้ล่วงหน้าและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ เมื่อมีเหตุการณ์หรือเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้น ซึ่งใช้การวิเคราะห์ขั้นต้นเท่านั้น

4) สารสนเทศที่ใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (decision support systems :DSS)

      การตัดสินใจบางอย่างไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำแบบปกติ คืออาจจะมีบางปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เข้ามาอย่างกระทันหันและต้องการตัดสินใจ โดยบางครั้งอาจจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเกียว หรือไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย DSS จะเป็นเสมือนผู้ช่วยผู้บริหารที่จะต้องทำการตัดสินใจ เกี่ยวกับสถานะภาพเฉพาะบางอย่าง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (unstructured) หรือกึงโครงสร้าง (semi-structured) ซึ่งยากที่จะเตรียมรูปแบบของรายงานที่แน่นอนไว้ล่วงหน้า จะเห็นว่า DSS นี้เป็นระบบสารสนเทศที่ยืดหยุ่นมากกว่าระบบสารสนเทศชนิดอื่น ๆ ต้องใช้การวิเคราะห์ชั้นสูง

5) ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems :ESS)

       เป็นระบบที่พยายามจัดทำสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งภาระส่วนใหญ่จะเป็นการวางแผนระยะยาวว่าองค์กรจะไปในทิศทางใด ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาใช้นั้นส่วนหนึ่งมาจากระบบ TPS และที่ขาดไม่ได้คือ ข้อมูลจากภายนอกองค์กร เพื่อนำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าองค์กรของตนเองนั้นอยู่ในระดับใด และแนวโน้มเป็นอย่างไร ส่วนการประมวลผลนั้นมักจะใช้สภาพการจำลอง การพยากรณ์ เป็นต้น






 2.เทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจ





2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของบุคคล

        1) ระบบสารสนเทศสำนักงาน เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและเครื่องใช้สำนักงาน เช่น โปรรแกรมไมโครซอฟต์พิมพ์เอกสาร เป็นต้น
        2) ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการ เพื่อบันทึกข้อมูลประจำวัน เช่น ใช้ซอฟต์แวร์การขายสินค้าในการบันทึก ปรับปรุงและค้นหารายการสินค้า


2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของกลุ่ม

      เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีหลักการคือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายระยะใกล้ หรือระยะไกล ทำให้มีการใช้ทรัพยากร ในระบบเครือข่ายร่วมกันได้


2.3 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจขององค์กร

      เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเชื่อมโยงระบบสารสนเทศของแผนกต่างๆในองค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อส่งผ่านข้อมูลจากแผนกหนึ่งไปยังแผนกหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ โดยมีหลักการ คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตามแผนกต่างๆ มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกัน



วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จักกันก่อน ♥

ฮัลโหลลลล~ ♥




เราชื่อ น.ส.ณัฏฐณิชา  แตงอ่อน
ชื่อเล่น เตเต้ ><
อายุ 16 ขวบแล้วน้าาาาาาาาา~

อยู่ ม.5 สายวิทย์-คณิต (EIS) แต่ชอบศิลป์ภาษา
เวลาว่างชอบแหกปากร้องเพลง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต
เราพูดมากยิ้มง่ายกับคนรู้จักน้า55555
เราไม่ชอบคนไม่มีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะนะ !! ._.

เรามี facebook twitter line instagram whatsapp skype pinBB แต่เราไม่ให้ :P
ล้อเล่นน้า อยากรู้จักขอเราได้เลย ^_^
นี่ facebook เรานะ. www.facebook.com/glumglums



รู้จักเราแล้วน้า มาคุยกับเราได้ ทักเราได้เสมอน้า ♥